เมนู

มีคำอธิบายว่า ท่านนับว่าเป็นตัวอย่าง แห่งบุคคลทั้งหลาย หรืออกุศลธรรม
ทั้งหลายเป็นอันมากในพระศาสนานี้ เพราะทำก่อนบุคคลทั้งปวง นับว่าเป็น
หัวหน้า คือเป็นผู้ให้ประตูได้แก่ซื้ออุบาย เพราะเป็นผู้ดำเนินหนทางนั้นก่อน
บุคคลทั้งปวด.
จริงอยู่ ในคำว่า พหุนฺนํ โข เป็นต้นนี้ มีความประสงค์ดังนี้ว่า
บุคคลเป็นอันมาก ได้เลิศนี้แล้ว สำเหนียกตามกิริยาของท่าน จักกระทำ
อกุศลธรรมมีประการต่าง ๆ มีเสพเถุนธรรมกับนางลิงเป็นต้น.
บทว่า อเนกปริยาเยน คือโดยเหตุมากมาย ซึ่งตรัสแล้วโดยนัย
เป็นต้นว่า อนนุจฺฉวิกํ นี้.

[ผู้ไม่ตั้งอยู่ในสังวรเป็นผู้มักมากในปัจจัย 4]


หลายบทว่า ทุพฺภรตาย ฯเปฯ โกสชฺชสฺส อวณฺณํ ภาสิตฺวา
มีความว่า ตรัสโทษ คือข้อที่น่าตำหนิ ได้แก่ข้อที่น่าติเตียนแห่งอสังวรซึ่งเป็น
ที่ตั้งแห่งความเสียหาย มีความเป็นผู้เลี้ยงยากเป็นต้น.
จริงอยู่ ตนของบุคคล ผู้ตั้งอยู่ในความไม่สำรวม ย่อมถึงความเป็น
สภาพที่เลี้ยงยาก และบำรุงยาก, เพราะเหตุนั้น อสังวร ท่านจึงเรียกว่า ความ
เป็นผู้เลี้ยงยาก และความเป็นผู้บำรุงยาก.
อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความไม่สำรวม ย่อมถึงความเป็นผู้
มักมากในปัจจัย 4 และได้ปัจจัยทั้งหลาย แม้มีประมาณเท่าเขาสิเนรุแล้ว ก็
ยังถึงความเป็นผู้ไม่สันโดษ, เพราะเหตุนั้น อสังวรท่านจึงเรียกว่า ความเป็น
ผู้มักมาก และความเป็นผู้ไม่สันโดษ.
อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ตั้งอยู่ในความไม่สำรวม ย่อมเป็นไปเพื่อความ
คลุกคลีด้วยหมู่ และเพื่อความหมักหมมด้วยกิเลส ทั้งย่อมเป็นสภาพเป็นไป

ตามความเกียจคร้าน คือเป็นไปเพื่อยังวัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความเกียจคร้าน
แปดอย่างให้บริบูรณ์.* เพราะเหตุนั้น อสังวร ท่านจึงเรียกว่า ความคลุกคลี
และความเกียจคร้าน.

[ผู้ตั้งอยู่ในสังวรไม่เป็นผู้มักมากในปัจจัย 4]


หลายบทว่า สุภรตาย ฯเปฯ วิริยารมฺภสฺส วณฺณํ ภาสิตฺวา
มีความว่า ทรงสรรเสริญคุณแห่งสังวร อันเป็นที่ตั้งแห่งคุณทั้งหลาย มีความ
เป็นผู้เลี้ยงง่ายเป็นต้น.
จริงอยู่ ตนของบุคคลผู้ละอสังวร แล้วตั้งอยู่ในสังวร ย่อมเป็น
สภาพที่เลี้ยงง่ายบำรุงง่าย ย่อมถึงความเป็นผู้มักน้อย คือหมดความทะยาน
อยากในปัจจัย 4 และย่อมเป็นไปเพื่อความสันโดษ 3 อย่าง ด้วยอำนาจแห่ง
ยถาลาภสันโดษ ยถาพลสันโดษ และยถาสารุปสันโดษ ในปัจจัยอย่างหนึ่ง ๆ
เพราะเหตุนั้น สังวร ท่านจึงเรียกว่า ความเป็นผู้เลี้ยงง่าย ความเป็นผู้บำรุง
ง่าย ความมักน้อย และความสันโดษ.
อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ละอสังวร ตั้งอยู่ในสังวร ย่อมเป็นไปเพื่อความ
เป็นผู้ขัดเกลากิเลส และความเป็นผู้กำจัดกิเลสออก, เพราะเหตุนั้น สังวร
ท่านจึงเรียกว่า ความขัดเกลา และความกำจัด.
อนึ่ง ตนของบุคคลผู้ละอสังวร แล้วตั้งอยู่ในสังวร ไม่เข้าไปใกล้
กายทุจริต และวจีทุจริต ซึ่งไม่ชวนให้เกิดความเลื่อมใส คือไม่เป็นที่ตั้ง
แห่งความเลื่อมใส ไม่สงบ ไม่เรียบร้อยแห่งกายและวาจา และไม่เข้าไปใกล้
อกุศลวิตก 3 ซึ่งไม่ชวนจิตให้เกิดความผ่องใส คือ ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความ
ผ่องใสแห่งจิต ไม่สงบ ไม่เรียบร้อย ย่อมเป็นไปเพื่อความบริบูรณ์แห่ง
* องฺ อฏฺฐก. 23/343.